วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ลำดับเหตุการณ์ความไม่สงบที่ฝรั่งเศส: เคอร์ฟิวสยบจลาจล มหาดไทยจุดกระแสใหม่ไล่ผู้ก่อเหตุต่างชาติ



เอเอฟพี - การประกาศใช้มาตรการฉุกเฉินหรือเคอร์ฟิวในหลายเมืองทั่วฝรั่งเศส มีผลให้เหตุจลาจลในแดนน้ำหอมลดลงอย่างมากเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 สัปดาห์ ด้านรัฐมนตรีมหาดไทยจุดกระแสเดือดอีก ด้วยการประกาศจะเนรเทศผู้ก่อเหตุจลาจลที่เป็นชาวต่างชาติออกนอกประเทศ

พุธที่ 19 ต.ค.- นิโกลาส ซาร์โกซี รัฐมนตรีมหาดไทยฝรั่งเศส ประกาศสงครามกับความรุนแรงในเขตชานเมืองอังคารที่ 25 ต.ค.- ระหว่างเดินทางเยี่ยมเยียนประชาชนในย่าน อาร์ชองเตยล์ ชานกรุงปารีส ซาร์โกซีถูกขว้างปาด้วยก้อนหินและขวด ซึ่งเขาเรียกวัยรุ่นผู้ก่อเหตุในพื้นที่ยากจนรอบกรุงปารีส ว่าเป็น "ขยะสังคม"พฤหัสบดีที่ 27 ต.ค.- วัยรุ่น 2 คน คนหนึ่งอายุ 15 ปี มีเชื้อสายมาลี อีกคนอายุ 17 ปี มีเชื้อสายตูนิเซีย หลบหนีการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ไปยังสถานีส่งไฟฟ้า ทำให้ถูกไฟช็อตเสียชีวิตบริเวณหม้อแปลงไฟฟ้า ในย่าน กลีชีซุสบัวส์- วัยรุ่นคนอื่นๆ ในย่านชานเมืองที่รู้ข่าวการเสียชีวิตของทั้งคู่ ออกมาแสดงความโกรธแค้น และเผารถไป 23 คัน รวมทั้งทำลายอาคารสถานที่ต่างๆ อีกทั้งขว้างปาก้อนหินและขวดใส่เจ้าหน้าที่ปราบจลาจลศุกร์ที่ 28 ต.ค.- วัยรุ่น 400 คน ปะทะกับตำรวจในย่านกลีชีซุสบัวส์ ขว้างก้อนหิน ขวด และระเบิดขวด มีตำรวจ 23 คนได้รับบาดเจ็บ และตำรวจคนอื่นๆ จำเป็นต้องยิงกระสุนยางเพื่อสลายม็อบ มีคนยิงปืนใส่รถแวนของตำรวจปราบจลาจลด้วย แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ ตำรวจจับวัยรุ่นได้ 13 คน และมีรถถูกเผาไป 29 คันเสาร์ที่ 29 ต.ค.- ประชาชน 500 คนเดินขบวนอย่างสงบ ผ่านย่านคลิชีย์ ซูส์บัวส์เพื่อระลึกถึงวัยรุ่นที่เสียชีวิต- เกิดเหตุรุนแรงขึ้นอีกในตอนดึก เผารถไป 20 คัน มีคนถูกจับ 9 คน บางคนมีค้อนและถังน้ำมันอาทิตย์ที่ 30 ต.ค.- เกิดการปะทะกันที่ย่านคลิชีย์ ซูส์บัวส์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ 6 คนได้รับบาดเจ็บ มีคนถูกจับ 11 คน และมีรถถูกเผา 8 คัน ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาใส่ฝูงชนแต่กลับพลาดเข้าไปในมัสยิด สร้างความแค้นเคืองให้ประชาชนในชุมชนมุสลิมแห่งดังกล่าวจันทร์ที่ 31 ต.ค.- ซาร์โกซีกล่าวว่า เขามีความตั้งใจจริงที่จะควบคุมเหตุจลาจล ส่วนครอบครัวของวัยรุ่นสองคนที่เสียชีวิต ปฏิเสธที่จะพบเขา โดยบอกว่าซาร์โกซี "ขาดความสามารถ"- วัยรุ่นกับตำรวจยังปะทะกันเป็นระยะ ในย่านคลิชีย์ ซูส์บัวส์ และชานเมืองอื่นๆ มีคนถูกจับ 19 คน และมีรถถูกเผา 68 คันอังคารที่ 1 พ.ย.- นายกรัฐมนตรีโดมินิก เดอ วิลเลอแปง พบกับครอบครัวของวัยรุ่นที่เสียชีวิต และเชิญซาร์โกซีมาร่วมด้วย- สถานการณ์ใน คลิชีย์ ซูส์บัวส์เริ่มสงบลงแล้ว แต่กลับมีเหตุจลาจลและการปะทะกันปะทุขึ้นในชานเมืองอื่นๆ ทางเหนือและตะวันตกของกรุงปารีส รวมๆ แล้วมีรถถูกเผา 180 คัน และจับคนได้ 34 คนพุธที่ 2 พ.ย.- ประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัค กล่าวเตือนประชาชนอย่าใช้อารมณ์รุนแรง และทำให้เรื่องราวลุกลามใหญ่โต- วิลเลอแปงกับซาร์โกซี ยกเลิกการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อรับมือกับความรุนแรงที่ขยายตัว- เกิดการก่อเหตุจลาจลในชานเมือง 22 แห่ง ทางเหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตกของกรุงปารีส หญิงพิการวัย 56 ปีคนหนึ่งถูกไฟคลอกสาหัส เมื่อวัยรุ่นสาดน้ำมันใส่รถเมล์และจุดไฟเผา ขณะที่เธอหนีออกจากรถไม่ทัน ตำรวจรายงานว่า มีรถถูกเผา 315 คัน และมีคนถูกจับอย่างน้อย 15 คนพฤหัสบดีที่ 3 พ.ย.- เปิดการสอบสวนเรื่องการเสียชีวิตของวัยรุ่นสองคน- วิลเลอแปงประกาศว่า รัฐบาลจะไม่ยอมจำนนกับการใช้ความรุนแรง- ซาร์โกซีบอกว่า ที่ผ่านมาจับคนได้กว่า 140 คนแล้ว นับตั้งแต่มีความรุนแรงเริ่มขึ้น- การจลาจลกลับมาอีกในช่วงค่ำ และเป็นครั้งแรกที่ขยายตัวไปยังพื้นที่อื่นๆ ในฝรั่งเศส ใน ดิฌอง, มาร์กเซย์ นอร์มังดี มีรถถูกเผาในตอนกลางของปารีส 7 คัน รวมๆ ทั้งหมดแล้วมีรถถูกทำลายไป 517 คัน ทั้งในและรอบๆ เมืองหลวง และมีคนถูกจับอีก 78 คนศุกร์ที่ 4 พ.ย.-มีการลอบวางเพลิงในชานเมืองรอบปารีส และเมืองอื่นๆ ของฝรั่งเศส รวมๆ แล้วมีรถถูกเผา 897 คัน และมีคนถูกจับกว่า 250 คนอาทิตย์ที่ 6 พ.ย.- ประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัค ให้คำมั่นหลังหารือกับคณะรัฐมนตรีว่า จะทำให้สถานการณ์คลี่คลายโดยเร็วจันทร์ที่ 7 พ.ย.- มีผู้เสียชีวิตรายแรกจากเหตุรุนแรงที่ปะทุขึ้นตั้งแต่วันที่ 27 ต.ค. โดย ฌอง-ฌาคส์ เลอ เชนาเดก ชายวัย 61 ปี ที่ถูกหนุ่มสวมหมวกคลุมหน้าคนหนึ่งทำร้ายเมื่อวันศุกร์(4) ระหว่างเกิดความไม่สงบในย่านสแตงส์ ชานเมืองด้านเหนือของกรุงปารีส เสียชีวิตที่โรงพยาบาลอังคารที่ 8 พ.ย.- ช่วงคืนที่ผ่านมา เกิดเหตุเผารถยนต์ 1,173 คัน และเจ้าหน้าที่จับกุมผู้ก่อเหตุได้ 330 คน มีตำรวจได้รับบาดเจ็บ 12 คน- คณะรัฐมนตรีให้อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการประกาศภาวะฉุกเฉิน หรือเคอร์ฟิว เพื่อยับยั้งการเคลื่อนไหวของผู้ก่อเหตุ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวในฝรั่งเศส นับตั้งแต่ปี 1955 เป็นต้นมาพุธที่ 9 พ.ย.- ภาวะฉุกเฉินมีผลบังคับใช้หลังเที่ยงคืนในพื้นที่ต่างๆ ราว 30 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งเจ้าหน้าที่ระบุว่า การประกาศเคอร์ฟิวมีส่วนช่วยให้การก่อเหตุไม่สงบลดลง แม้จะยังมีการก่อจลาจลในหลายพื้นที่
พฤหัสบดี 10 พ.ย.
เจ้าหน้าที่รายงานว่า แม้จะยังมีการก่อเหตุเผารถยนต์และลอบวางเพลิงในคืนวันพุธที่ผ่านมา (9) ซึ่งเป็นวันที่ 14 ของเหตุจลาจล แต่ถือว่าสถานการณ์ความไม่สงบทั่วฝรั่งเศสลดลงกว่าคืนก่อนๆ อย่างมาก ทำให้เกิดความหวังว่าเหตุจลาจลที่รุนแรงที่สุดในฝรั่งเศส นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 1968 จะคลี่คลายได้เหตุการณ์รุนแรงที่ปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม นำไปสู่การประกาศใช้เคอร์ฟิวใน 21 เมืองทั่วฝรั่งเศส ซึ่งสั่งห้ามไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ออกจากบ้านโดยไม่มีผู้ใหญ่ดูแล ตั้งแต่ช่วงเวลา 4 ทุ่มถึง 6 โมงเช้า และห้ามซื้อน้ำมัน ทั้งนี้ เหตุจลาจลที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มีวัยรุ่นชาวอาหรับและแอฟริกันที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ยากจนแถบชานเมืองเป็นผู้ก่อเหตุ และจากข้อมูลของทางการ ล่าสุดมีการจับกุมผู้ต้องสงสัยมีส่วนร่วมในการก่อจลาจลไปแล้ว 1,800 คน ซึ่ง 173 คนถูกสั่งจำคุกแล้ว และยังมีอีกมากที่ต้องขึ้นศาลด้านนิโคลาส์ ซาร์โกซี รัฐมนตรีมหาดไทย จุดกระแสวิพากษ์วิจารณ์นโยบายแข็งกร้าวของเขาอีกครั้ง เมื่อเขาแถลงต่อรัฐสภาในวันพุธ (9) ว่า เขาได้สั่งเนรเทศผู้กระทำผิดที่ไม่ใช่ชาวฝรั่งเศส แม้ว่าผู้นั้นจะมีเอกสารอนุญาตให้พำนักในประเทศก็ตามคำกล่าวของซาร์โกซี ทำให้กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนออกมาประณามทันทีว่า เป็นการตัดสินใจที่ผิดกฎหมาย ขัดกับพิธีสารยุโรปด้านสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงมหาดไทยได้ออกมาแถลงในเวลาต่อมาว่า ตัวเลขผู้ถูกเนรเทศ 120 คนที่ซาร์โกซีกล่าวถึงนั้น หมายถึงชาวต่างชาติที่ถูกควบคุมตัวในเหตุจลาจล และยังไม่ถูกตัดสินว่ามีความผิดหรือไม่ อีกทั้งยังรวมผู้เยาว์ ซึ่งจะถูกยกเว้นจากการเนรเทศด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: